หลักสูตร DTBI เป็นหลักสูตรที่เกิดจากวิสัยทัศน์ของสำนักวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ ที่มองเห็นถึงความเปลี่ยนแปลงอันรวดเร็วของเทคโนโลยีต่อชีวิตมนุษย์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งด้านการสื่อสาร ซึ่งเป็นกิจกรรมหลักของมนุษย์ที่เป็นพื้นฐานต่อกิจกรรมอื่นๆอีกมากมาย เช่นการประกอบอาชีพ โดยเฉพาะด้านธุรกิจที่เทคโนโลยีดิจิทัลได้เข้ามามีบทบาทอย่างมาก ไม่ใช่เพียงเพื่อการประชาสัมพันธ์ สื่อสารกับผู้บริโภค หากแต่เทคโนโลยีเหล่านี้ถูกใช้มาเป็นกลไกหลักในการประกอบธุรกิจ ดังจะเห็นได้จากบริการอันหลากหลายเกี่ยวกับการซื้อขาย การให้บริการอาหาร การให้บริการแบบเคลื่อนที่ ที่สามารถเรียกใช้จากสถานที่ใด เวลาใด จากเครื่องมือใดก็ได้ที่มีการเชื่อมต่อกับโครงข่ายอินเตอร์เน็ต ดังนั้นการเปิดบริการหลักสูตรที่เน้นให้เป็นผู้ประยุกต์ใช้เทคโนโลยีเพื่อประกอบการให้เกิดผลประโยชน์ใดๆย่อมเป็นที่ต้องการของสังคม โดยเฉพาะอย่างยิ่งสังคมไทยที่มีภาคการผลิตอยู่เยอะ แต่ยังขาดการขาย การตลาดที่มีประสิทธิภาพและสะดวกใช้กับบุคคลที่แม้จะมีความรู้ด้านเทคโนโลยีน้อย ดังนั้นจึงเป็นโอกาสที่ดีต่อนักเรียน นักศึกษาตลอดจนผู้สนใจ ที่จะฝึกฝนตนเองเพื่อให้สามารถเป็นผู้ประกอบการยุคใหม่ที่เน้นประยุกต์ใช้เทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อเป็นผู้เชื่อมต่อระหว่างผู้ผลิต และผู้บริโภค
หลักสูตร DTBI มุ่งเน้นสร้างผู้ประกอบการที่เป็นลักษณะสตาร์ทอัพ โดยมีรายวิชาที่เกี่ยวกับการประกอบการ การทำ Startup หลากหลายวิชา ทั้งนี้ในรายวิชาชีพเลือก ทั้งหมด 5 รายวิชา ผู้เรียนยังสามารถเลือกรายวิชาในกลุ่มการวิเคราะห์ข้อมูล และการทำการตลาดดิจิทัลด้วย ซึ่งผู้ผ่านหลักสูตรสามารถเป็นผู้ประกอบการ นักการตลาดดิจิทัล นักวิเคราะห์ระบบ นักวิคราะห์ข้อมูล
หลักสูตรได้จัดเตรียมรายวิชาที่ทันสมัย และสามารถนำไปใช้ได้จริง นอกจากนี้ยังนำรูปแบบการเรียนการสอนแบบใหม่ ในรูปแบบโครงงานเพื่อให้นักศึกษาได้ลงมือทำกับโจทย์จริง และเรียนในรูปแบบบูรณาการไม่แยกสาระวิชา ซึ่งจะช่วยให้ผู้เรียนสามารถเห็นความเชื่อมโยงของแต่ละศาสตร์วิชาในวางแผน ปฏิบัติ และแก้ปัญหาจริง หลักสูตรนี้เป็นหลักสูตรปริญญาตรีวิทยาศาสตร์บัณฑิต 4 ปี ตามมารตฐานของสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา กระทรวงการอุดมศึกษา มีทั้งหมด 120 หน่วยกิต หากแต่สำนักวิชาฯจะจัดการเรียนการสอนให้ผู้เรียนสามารถจบได้ก่อน 4 ปี โดยเรียนทุกรายวิชาภายในปี 3 และฝึกงานอีกหนึ่งภาคการศึกษาใน ปี 4 เทอม 1 ทั้งนี้เพื่อเป็นการส่งเสริมให้ผู้เรียนได้เข้าสู่ชีวิตการทำงานให้เร็วขึ้น โดยในช่วงระหว่างการเรียนรู้ในมหาวิทยาลัย นักศึกษาจะได้เรียนรู้ ลองผิด ลองถูกกับการทำงานในมิติต่างๆของธุรกิจดิจิทัล
แผนการเรียนแต่ละภาคการศึกษา
ชั้นปีที่ 1
ภาคการศึกษาต้น จำนวน 18 หน่วยกิต
- ภาษาไทยเพื่อการสื่อสาร (Thai for Communication)
- ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร 1 (English for Communication 1)
- เทคโนโลยีสารสนเทศและวิทยาการข้อมูลเบื้องต้น (Introduction to Information Technology and Data Science)
- การเริ่มต้นธุรกิจดิจิทัลเชิงปฏิบัติการ(Digital Business Initiation in Practice)
- คณิตศาสตร์และสถิติเพื่อธุรกิจดิจิทัล (Mathematics and Statistics for Digital Business)
- การออกแบบเชิงนวัตกรรมและตรรกะสำหรับการโปรแกรมแบบมีปฏิสัมพันธ์ (Innovative and Logical Design for Interactive Programming)
- ความเป็นแม่ฟ้าหลวง (MFU Character)
ภาคการศึกษาปลาย จำนวน 18 หน่วยกิต
- ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร 2 (English for Communication 2)
- วิชาเลือกในหมวดศึกษาทั่วไป (GE:Language, Humanities and Social Science Course 2)
- สื่อโซเชียล การตลาดดิจิทัล และอีบิซิเนสแอพพลิเคชั่น (Social Media, digital marketing, and e-Business Applications)
- การปฏิรูปและการพัฒนาธุรกิจดิจิทัล (Digital Business Transformation and Development)
- การวิเคราะห์พฤติกรรมลูกค้าและการออกแบบประสบการณ์ผู้ใช้ (Customer Behavior Analysis and User Experience Design)
- การสร้างแบรนด์และการมีส่วนร่วมแบบดิจิตอล (Digital Branding and Customer Engagement)
ชั้นปีที่ 2
ภาคการศึกษาต้น จำนวน 18 หน่วยกิต
- ภาษาจีน 1 (Chinese1)
- วิชาเลือกในหมวดศึกษาทั่วไป (GE: Science and Mathematics Course 2)
- ธุรกิจดิจิตอลในสภาพแวดล้อมระหว่างประเทศ (Digital Business in International Environments)
- ทัศนศิลป์และเทคโนโลยีมัลติมีเดีย (Visual Art and Multimedia Technology)
- ระบบนิเวศและการจัดการธุรกิจดิจิทัล (Digital Business Ecosystem and management)
- นวัตกรรมและการจัดการความคิดสร้างสรรค์เพื่อความยั่งยืน (Innovation and Creativity Management for Sustainability)
ภาคการศึกษาปลาย จำนวน 21 หน่วยกิต
- ภาษาจีน 2 (Chinese 2)
- วิชาเลือกในหมวดศึกษาทั่วไป (GE:Language, Humanities and Social Science Course 3)
- การวิเคราะห์ข้อมูลธุรกิจเบื้องต้น (Introduction to Business Data Analytics)
- บุคลิกภาพและการพูดในที่สาธารณะเพื่อธุรกิจดิจิทัล (Personality and Public Speaking for Digital Business)
- การวิเคราะห์และออกแบบระบบสารสนทางเทศธุรกิจ (Business Information System Analysis and Design)
- การพัฒนาหุ้นส่วนทางธุรกิจ(Digital Business Partnership Development)
- วิชาเลือกเสรี 2 (Free Elective2)
ชั้นปีที่ 3
ภาคการศึกษาต้น จำนวน 18 หน่วยกิต
- การจัดการโครงการสำหรับธุรกิจดิจิทัล Project Management for Digital Business)
- การจัดการข้อมูลทางธุรกิจ (Digital Business Data Management )
- เทคโนโลยีสมัยใหม่และปัญญาประดิษฐ์ในธุรกิจ (Modern Technology and AI in Business)
- ความปลอดภัย กฎหมาย และภาษี ทางธุรกิจดิจิทัล (Digital Business Security, Law and Taxation)
- วิชาชีพเลือก 1 (Major Elective1)
- วิชาชีพเลือก 2 (Major Elective2)
ภาคการศึกษาปลาย จำนวน 9 หน่วยกิต
- โครงงานนักศึกษาเชิงเทคโนโลยีดิจิทัล (Digital Technology Senior Project)
- ความเป็นพลเมืองโลก (Global Citizenship)
- วิชาลือกเสรี 2 (Free Elective2)
ชั้นปีที่ 4
ภาคการศึกษาต้น จำนวน 9 หน่วยกิต
- สหกิจศึกษา (Co-operative Education)
- ภาคการศึกษาปลาย จำนวน 9 หน่วยกิต
- วิชาชีพเลือก 3 (Major Elective3)
- วิชาชีพเลือก 4 (Major Elective4)
- วิชาชีพเลือก 5 (Major Elective5)
***สำนักวิชาฯจะจัดการเรียนการสอนให้ผู้เรียนสามารถจบได้ก่อน 4 ปี โดยเรียนทุกรายวิชาภายในปี 3 และฝึกงานอีกหนึ่งภาคการศึกษาใน ปี 4 เทอม 1***
กลุ่มวิชาชีพเลือก
กลุ่มเน้นผู้ประกอบการที่ยกระดับธุรกิจด้วยดิจิทัล (Specialize in Digital Leveraged Entrepreneur)
- สตาร์ทอัพและอาชีพอิสระ (Startup and Freelancer)
- การสร้างมูลค่าทางธุรกิจดิจิทัล (Value Creation in Digital Business)
- การสร้างแนวคิดเพื่อหาแนวทางการแก้ปัญหาทางธุรกิจดิจิทัล (Digital Business Solution Ideation)
- การเจรจาต่อรองและการพิทชิง (Negotiation and Pitching)
- การระดมทุนออนไลน์ (Online Fundraising)
กลุ่มเน้นนักวิเคราะห์ข้อมูลทางธุรกิจ (Specialize in Business Data Analyst)
- การเตรียมข้อมูลธุรกิจ (Business Data Preparation)
- การสร้างภาพข้อมูลธุรกิจ (Business Data Visualization)
- การทำเหมืองข้อมูลธุรกิจ (Business Data Mining)
- การวิเคราะห์สื่อสังคมออนไลน์ (Social Media Analytics)
- การวิเคราะห์ข้อมูลทางธุรกิจเชิงปฏิบัติการ (Business Data Analytics in Practice)
กลุ่มเน้นการตลาดที่ขับเคลื่อนด้วยดิจิทัล (Specialize in Digital Driven Marketing)
- ระบบการจัดการลูกค้าสัมพันธ์ (Customer Relationship Management System)
- การวิจัยตลาดโดยใช้เทคโนโลยีดิจิทัลในการแก้ปัญหา (Digital Technology Solution for Marketing Research)
- การสร้างแบรนด์ขั้นสูงเพื่อธุรกิจดิจิทัล (Advanced Branding for Digital Business)
- อัตลักษณ์ของนักการตลาดดิจิทัลแนวหน้า (Identity of Top Digital Marketer)
- การปฏิบัติการตลาดดิจิทัล (Digital Marketing in Practice)
##มาเป็นส่วนหนึ่งของทีม Business Innovation @ Mae Fah Luang##
สอบถามข้อมูลเพิมที่เพจของเรา คลิกที่นี่
หลักสูตร
ภาษาไทย: | หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อนวัตกรรมทางธุรกิจ |
ภาษาอังกฤษ: | Bachelor of Science Program in Digital Technology for Business Innovation |
ชื่อปริญญา
ภาษาไทย: | ชื่อเต็ม : | วิทยาศาสตรบัณฑิต (เทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อนวัตกรรมทางธุรกิจ) |
ชื่อย่อ : | วท.บ. (เทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อนวัตกรรมทางธุรกิจ) |
ภาษาอังกฤษ: | ชื่อเต็ม : | Bachelor of Science (Digital Technology for Business Innovation) |
ชื่อย่อ : | B.Sc. (Digital Technology for Business Innovation) |
ปรัชญา / วัตถุประสงค์
หลักสูตรมุ่งผลิตบัณฑิตที่ใช้เทคโนโลยีดิจิทัลเป็นเครื่องมือในการประกอบหรือสร้างธุรกิจดิจิทัลในระดับสากลที่มีความรู้ ความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ มีศักยภาพในการศึกษาค้นคว้า และสามารถประยุกต์ใช้ความรู้ในการวิเคราะห์แก้ไขปัญหาโดยคิดอย่างเป็นระบบ มีความรอบรู้ครอบคลุมตั้งแต่การใช้เครื่องมือดิจิทัลเพื่อส่งเสริมผู้ประกอบการ นักการตลาด นักขาย รวมถึงมีความเชี่ยวชาญในด้านวิทยาการข้อมูล ทั้งยังเป็นผู้มีคุณธรรม จริยธรรม และจรรยาบรรณวิชาชีพ เพื่อปฏิบัติงานในองค์กรต่างๆ ทั้งในประเทศและระดับสากล อันจะก่อให้เกิดการพัฒนาประเทศในส่วนรวมอย่างยั่งยืน มุ่งผลิตบัณฑิตที่มีคุณลักษณะดังนี้
- มีความรู้ทางทฤษฎีและปฏิบัติด้านธุรกิจดิจิทัล สามารถบูรณาการวิชาการ และประยุกต์ใช้ความรู้เพื่อเป็นผู้ประกอบการหรือตำแหน่งงานที่เกี่ยวข้อง
- มีความรอบรู้และเชี่ยวชาญในการใช้ระบบและซอฟต์แวร์สำหรับอุปกรณ์ที่เกี่ยวเนื่องรวมไปถึงวิทยาการข้อมูล (Data Science)
- มีศักยภาพในการศึกษาค้นคว้าด้วยตัวเอง ปรับตัวเข้ากับเทคโนโลยี ที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว
- มีความคิดอย่างเป็นระบบ วิเคราะห์แก้ไขปัญหาได้ดี มีทักษะในการสื่อสาร การนำเสนอ สามารถทำงานเป็นทีมร่วมกับผู้อื่นได้ และมีความเป็นผู้นำ
- มีคุณธรรม จริยธรรม จรรยาบรรณวิชาชีพ มีความเสียสละ และรับผิดชอบต่อชุมชน สังคม และประเทศชาติ
จุดเด่นของหลักสูตร
- หลักสูตรเน้นการบูรณาการทั้งด้านทักษะและความรู้เกี่ยวกับ นวัตกรรม เทคโนโลยีและการทำธุรกิจ โดยมุ่งเน้นการปฏิบัติในภาคธุรกิจจริง
- จัดการเรียนการสอนเป็นหน่วยบูรณาการ
- ผู้เรียนจะมีการเริ่มทำธุรกิจตั้งแต่ปีที่หนึ่งเพื่อให้มีความรู้ ความเข้าใจในปัจจัยที่เกี่ยวข้องในการประกอบธุรกิจ อีกทั้งการปรับเปลี่ยนธุรกิจดั้งเดิมเป็นธุรกิจดิจิทัลอย่างยั่งยืน
- สามารถใช้เครื่องมือและเทคโนโลยีดิจิทัลในการวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อสนับสนุนการตัดสินใจทางธุรกิจ
- มีความสามารถในวิเคราะห์ธุรกิจและสร้างนวัตกรรมดิจิทัลเพื่อสนับสนุนธุรกิจดิจิทัล
- มีทักษะในด้านการเจรจาต่อรอง การนำเสนอแนวความคิดด้านการสร้างนวัตกรรมเพื่อระดมทุนในการสร้างธุรกิจที่ยั่งยืน
แนวทางประกอบอาชีพ
- นักเทคโนโลยีสารสนเทศที่ใช้เทคโนโลยีดิจิทัลมาประกอบธุรกิจ (Information Technologist Using Digital technology for business)
- ผู้ประกอบการที่ยกระดับธุรกิจด้วยดิจิทัล (Digital Leveraged Entrepreneur)
- นักวิเคราะห์ข้อมูลทางธุรกิจ (Business Data Analyst)
- นักวิเคราะห์และออกแบบระบบสารสนเทศดิจิทัล (Digital System Analyst)
- นักการตลาดโดยใช้ดิจิทัลเป็นตัวขับเคลื่อน (Digital Driven Marketer)
ผลลัพธ์การเรียนรู้ระดับหลักสูตร
- PLO1 แสดงออกถึงความซื่อสัตย์ รับผิดชอบต่อหน้าที่และสังคม กล้าหาญเชิงจริยธรรม และมีจิตสาธารณะ
- PLO2 อธิบายความรู้พื้นฐาน ความรู้ทางธุรกิจ และเทคโนโลยีดิจิทัล
- PLO3 มีความสามารถในการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อสร้างนวัตกรรมทางธุรกิจ ทันกับเทคโนโลยีที่เปลี่ยนแปลงในสังคมโลก
- PLO4 มีภาวะผู้นำ มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ ปรับตัวและสามารถทำงานเป็นทีมในสังคมพหุวัฒนธรรมได้
- PLO5 มีมีความสามารถใช้เครื่องมือเทคโนโลยีดิจิทัล ในการวิเคราะห์ข้อมูลขนาดใหญ่และนำเสนอข้อมูลเพื่อการตัดสินใจทางธุรกิจ
ค่าธรรมเนียม
- ค่าธรรมเนียมการศึกษาตลอดหลักสูตร 224,000.- บาท
- ค่าธรรมเนียมการศึกษาต่อภาคการศึกษา 28,000.- บาท
โครงสร้างหลักสูตร
จำนวนหน่วยกิตรวมตลอดหลักสูตร 120 หน่วยกิต (หลักสูตร 4 ปี) |
1. หมวดวิชาศึกษาทั่วไป | 30 หน่วยกิต |
| | |
2. หมวดวิชาเฉพาะ | 84 หน่วยกิต |
| 1) กลุ่มวิชาพื้นฐานวิชาชีพ | 15 หน่วยกิต |
| 2) กลุ่มวิชาชีพบังคับ | 45 หน่วยกิต |
| 3) กลุ่มวิชาชีพเลือก | 15 หน่วยกิต |
| 4) กลุ่มประสบการณ์ภาคสนาม | 9 หน่วยกิต |
| | |
3. หมวดวิชาเลือกเสรี | 6 หน่วยกิต |
| | | |
ข้อมูลอ้างอิง
ปรับปรุงข้อมูลล่าสุด 30 มิ.ย. 64